วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

1.อะไรคือความแตกต่างระหว่างความสามรถของผู้บริหารในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามความต้องการของระบบสาสนเทศเพื่อการจัดการ และความสามารถจัดการเรื่องบริการการจัดสินใจโดยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
การเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานภายในองค์กร ช่วงเวลา การยกเว้น ความต้องการและการดึงรายงานออกมา และการตอบสนองการกำหนดล่วงหน้า การจำกัดรูปแบบ การสร้างข้อมูลโดยการโอนหรือการย้ายของข้อมูลธุรกิจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีการเตรียมข้อมูลและเทคนิคการตัดสินใจในการวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะหรือโอกาส
การตรวจสอบการติดต่อระหว่างกันและการตอบสนอง
เฉพาะตามความต้องการ มีความยึดหยุ่นและรูปแบบที่สามารถปรับใช้ได้
การสร้างข้อมูลจากรูปแบบจำลองในการวิเคราะห์ของข้อมูล

2.ระบบงานการขาย มีความก้าวหน้ากว่าแต่ก่อน เมื่อต้องการข้อมูลสำหรับการทำงานในองค์กร เนื่องจากความต้องการเรื่องกลยุทธ์ เทคนิค และการบริหารการตัดสินใจในธุรกิจเปลี่ยนไป ให้นักศึกษาอธิบายเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนี้
ตอบ ระบบงานขาย รองรับงานด้านการขาย สร้างใบเสนอราคา ใบสั่งขาย ใบยืมสินค้า ใบส่งของ
ใบกำกับภาษี บิลเงินสด เป็นต้น

3.มีแนวทางไหนบ้าง ที่นักศึกษาใช้โปรแกรมตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาช่วยในการตัดสินใจ
ตอบ โปรแกรมตารางคำนวณ หรือ Calc หรือ Spreadsheet เป็นโปรแกรมอีกหนึ่งในชุดโปรแกรมออฟฟิศทะเล 1.0 โปรแกรมตารางคำนวณนี้จะมีลักษณะการทำงานเชิงคำนวณและสามารถใช้วิเคราะห์ข้อม ูลได้รวมทั้งยังสามารถสร้างกราฟจากข้อมูลที่มีอยู่ได้อีกด้วย โปรแกรมตารางคำนวณ ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการช่วยในการกรอกข้อมูลลงในช่อง ตาราง และทำการคำนวณที่เรามักเรียกว่า "แผ่นคำนวณ (Spreadsheet)" โดยหลังจากกรอก ข้อมูลแล้วเราสามารถทำการคำนวณหาผลลัพธ์ได้ทันที
นอกจากการคำนวณพื้นฐานที่สามารถทำการคำนวณข้อมูลที่มีจำนวนมาก ๆ ได้แล้ว ยังสามารถที่จะทำการแก้ไขข้อมูล ได้ง่ายซึ่งก็จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้สำหรับการคำนวณมาก ๆ เช่น วิศวกร ,นักสถิติ , นักคณิตศาสตร์ และนักบัญชี เป็นต้น
ในการคำนวณทั่วไปแล้วโปรแกรมตารางคำนวณ ยังมีความสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูล เช่นการหาผลรวม การหาค่าที่สูงสุด การหาค่าที่ต่ำสุด รวมถึงการกรอกข้อมูลเฉพาะที่สนใจ และยังสามารถนำเอาข้อมูล ที่มีอยู่มาสร้างเป็นกราฟเพื่อให้บริหารสามารถมองเห็นภาพของข้อมูล ได้ชัดเจนขึ้นจึงจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ หน่วยงานมักจะนำ โปรแกรมประเภทตารางคำนวณ มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
4.ทำไมการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง จึงขยายไปยังระดับกลาง และขยายไปทั่วหมดทุกแผนกในองค์กร
ตอบ ผู้บริหารระดับสูง
เป็นผู้ตัดสินใจแผนการระยะยาวที่เกี่ยวกับทิศทางโดยรวมขององค์การ
กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและกลยุทธ์
แนะนำทางการจัดการในสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้
       ผู้บริหารระดับกลาง  ผู้อำนวยการ หัวหน้าศูนย์ ผู้จัดการแผนก หรือหัวหน้าสายงาน
   ผู้บริหารระดับกลาง
ดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้
ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดนโยบายให้ผู้จัดการระดับล่าง ได้นำแผนงานไปปฏิบัติ
5.ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงสามารถคิดได้ อธิบายเหตุผล

ตอบ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
6.การประยุกต์ใช้ปัญญาดิษฐ์ในองค์กร ส่วนไหนสำคัญที่สุด บอกเหตุผลที่นักศึกษาเลือก
ตอบ การคิดและมีเหตุผล มีการใช้เหตุผลในการแปญหา ภายในองค์กรได้ แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจิตนาการ จัดการความสัมพันธ์ของความสำคัญของปัจจัยในเหตุการณ์
7.การผสมผสานระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท จะก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาคาดหวังว่าจะเกิดเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างไรบ้าง

ตอบ  1. ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไป เมื่อเกิดการลาออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ
         2. ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ และมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ
        3. ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
        4. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์ เช่น ความเมื่อยล้า ความสับสนวุ่นวาย หรือปัญหาอารมณ
        5. ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า




8.อะไรคือขอบเขตจำกัด หรืออันตรายที่นักศึกษามองไม่เห็น ในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ความจริงเสมือน และตัวแทนสติปัญญา และอะไรที่จะลดขนาดของผลกระทบเหล่านี้ลงได้
ตอบ  ระบบผู้เชี่ยวชาญ         1. เป็นการยากที่จะรวบรวมความรู้ได้ครบถ้วนในฐานความรู้
                                            2. ยากที่จะดึงความรู้มาจากคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ
                                            3. วิธีแก้ปัญหาอาจมีหลายวิธีจากผู้เชี่ยวชาญหลานคน
                                            4. นักวิศวกรความรู้ซึ่งเป็นผู้สร้างระบบผู้เชี่ยวชาญนั้นหายากและค่าตอบแทนสูง
                                            5. คำตอบของระบบผู้เชี่ยวชาญอาจไม่ถูกต้องนัก ถ้าไม่มีการรวบรวมความรู้ที่ดีพอ
                                            6. ระบบผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถจัดการกับความรู้ที่ไม่แน่นอนได้ เพราะในระบบธุรกิจน้อยอย่างที่คงความถูกต้องตลอดไป เนื่องจากการกระทำของมนุษย์เป็นตัวแปรสำ
                                           7.ระบบผู้เชี่ยวชาญไสมารถคงอยู่ในตัวมันเองได้ นั้นคือ ระบบผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ไม่สามรถเรียนรู้จากประสบการณ์

        ความจริงเสมือน  มีขีดจำกัดอย่างเดียว คือ ต้นทุนของเทคโนโลยี

        ตัวแทนสติปัญญา  มีการเตบโตอย่างรวดเร็วตามความง่ายในการใช้งานของซอฟต์แวร์

       
 นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ 3,2

สรุป บทที่ 6 ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร

       
 

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเท
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศแบ่งตามลักษณะการบริหารจัดการได้ 3 ระดับดังนี้
        - ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน และสารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิคบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน
        - ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อนหรือยุ่งยากมากเกินไป
        - ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป
ประเภทของระบบสารสนเทศ
     ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
     พิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)
        1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น
        2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์
        3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น
        4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ
        5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์
        6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/22/cit/8_2.html

วงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ
        TPS จะถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานประจำวันขององค์การ ซึ่งมีลักษณะร่วมที่ต้องปฏิบัติตามรอบระยะเวลา หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้ โดยที่ผู้ใช้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้การทำงานสะดวกขึ้น ปกติวงจรการทำงานของระบบสารสนเทศสำหรับปฏิบัติการทางธุรกิจมี ดังนี้
        1. การป้อนข้อมูล (Data Entry) เป็นส่วนแรกหรือจุดเริ่มต้นของวงจรการปฏิบัติงานทางธุรกิจ โดยการป้อนข้อมูลจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้น แล้วทำการป้อนลงไปในระบบคอมพิวเตอร์ หรือสื่อสำรองสำหรับการเก็บข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ เพื่อรอการนำไปใช้งาน โดยที่ข้อมูลส่วนมากจะเป็นข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารที่เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจในแต่ละวัน เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งสินค้า และใบกำกับสินค้า เป็นต้น
        2. การประมวลผลหรือการปฏิบัติงานกับข้อมูล (Transaction Processing) หลังจากการป้อนหรือเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้เหมาะที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถอ่านได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการนำเอาข้อมูลที่จัดเก็บไปประมวลผล ซึ่งผู้ใช้สามารถทำได้ 2 วิธี ต่อไปนี้
                2.1 แบบครั้งต่อครั้ง (Batch) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ระยะหนึ่ง เพื่อรอให้มีปริมาณข้อมูลเพียงพอแล้วจึงทำการประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับการใช้งาน การประมวลผลแบบครั้งต่อครั้งจะเหมาะที่จะใช้งานกับระบบสารสนเทศที่มิได้เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานโดยตรง หรือลักษณะงานที่ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนไม่มีความเร่งด่วนในการใช้งานสารสนเทศ
                2.2 แบบตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time) การประมวลผลข้อมูลจะเกิดขึ้นทันทีที่ข้อมูลถูกป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบประมวลผลจะให้สารสนเทศที่เป็นจริงตามสถานการณ์โดยไม่ต้องทำการรวบรวมข้อมูลเข้าเป็นกลุ่ม การประมวลผลตามเวลาที่เกิดขึ้นจริงจะเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว ต่อไปการแข่งขันที่รุนแรงซับซ้อนในอนาคตจะทำให้ธุรกิจต้องการระบบประมวลผลข้อมูลแบบตามเวลาที่เกิดจริงมากขึ้น เพื่อให้สามารถตัดสินใจอย่างถูกต้องภายใต้ข้อจำกัดของระยะเวลา

        3. การปรับปรุงฐานข้อมูล (File / database Updating) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจะถูกนำไปปรับปรุง และจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฐานข้อมูลหือไฟล์ต่าง ๆ ซึ่งการปรับปรุงข้อมูลอาจทำเป็นระยะ ๆ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน และความทันสมัยของข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล
        4. การผลิตรายงานและเอกสาร (Document and Generation) เป็นการผลิตรายงานและเอกสารอ้างอิงภายในองค์การ ซึ่งแสดงถึงการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นของระบบ โดยเอกสารต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นจากระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจเรียกว่า เอกสารการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถแบ่งการผลิตรายงานและเอกสารออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
                4.1 เอกสารที่เกี่ยวกับสารสนเทศ (Information Document) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นรายละเอียดของการทำงานในแต่ละกระบวนการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบรายงานการสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น ตลอดจนการรายงานถึงปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการทำงาน
                4.2 เอกสารการปฏิบัติการ (Action Document) เป็นเอกสารที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติงานของผู้รับเอกสาร เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า เมื่อเอกสารนี้ถูกส่งไปถึงผู้ขายวัตถุดิบก็จะก่อให้เกิดการปฏิบัติงาน โดยที่ผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าตามที่ระบุในใบสั่งซื้อสินค้าให้แก่ผู้ซื้อให้ทันตามกำหนดหรือเช็คเงินสด เมื่อผู้รับนำเช็คไปถึงธนาคารก็จะก่อให้เกิดการทำงาน คือสามารถขึ้นเงินได้ เป็นต้น
                4.3 เอกสารหมุนเวียน (Circulating Document) เป็นเอกสารที่ถูกส่งออกไปแล้วจะมีการหมุนเวียนไปยังผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้รับทราบหรือดำเนินงาน เมื่อถูกส่งไปถึงลูกค้าก็จะมีเอกสารบางส่วน หรือสำเนาเอกสารถูกแยกออกแล้วส่งมายังเจ้าหนี้พร้อมกับจำนวนเงินที่จ่าย เป็นต้น
        5. การให้บริการสอบถาม (Inquiring Processing) ปกติองค์การธุรกิจจะจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งกับลูกค้าและผู้ขายวัตถุดิบ นอกจากข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและนำไปปรับปรุงให้ข้อมูลเดิมในฐานข้อมูลให้มีความทันสมัยแล้ว เมื่อลูกค้าหรือผู้ขายวัตถุดิบมีความต้องการอยากทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจก็จะทำการสอบถาม เช่น ยอดบัญชีค้างชำระ หรือยอดเงินฝากในบัญชีธนาคาร เป็นต้น โดยที่ TPS จะทำหน้าที่ตอบสนองตามที่ผู้เกี่ยวข้องร้องขอเข้ามา หรืออีกนัยหนึ่ง TPS เป็นการใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานในแต่ละวันของทั้งองค์การ และผู้ใช้งานสารสนเทศจากภายนอก
        หัวข้อที่ผ่านมาแสดงให้เราเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะระบบรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ ถูกนำมาช่วยให้การทำงานของธุรกิจสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วขึ้น ตลอดจนช่วยเพิ่มคุณค่าหรือก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการดำเนินงาน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศขององค์การที่ต้องประสานงานและกำหนดทางในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้กับองค์การ

 http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/119/noname7.htm



นางสาววิภาดา จำปางาม บกจ 3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

 
1.    1.มีธุรกิจอะไรบ้าง ที่นำเข้าระบบอินทราเน็ตเข้าไปช่วยในการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรของตน
ตอบ บริษัท US West Communications และ Netscape Communications
2.    นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ ที่มีบางบริษัทนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในการติดต่อกับ
       2.พนักงานและร้านค้าต่างๆ ด้วยการใช้โทรศัพท์
ตอบ เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นการสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรษณีย์เสียงและนำสู่การสนทนาสองทาง
3.    3.มีอะไรบ้างที่เป็นข้อจำกัดในการนำเข้าระบบอินทราเน็ตมาใช้ในธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ เทคโนโลยีใหม่ที่ค่อยเป็นค่อยไป ขาดคุณสมบัติในเรื่องความปลอดภัย ขาดการจัดการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากผู้ใช้ต่ำสุด อาจต้องการการยกระดับเครือข่าย แม่ข่ายไม่สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างรุ่นต่างๆได้ ไม่ได้อัตราส่วนกับองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้โปรแกรมประยุกต์เชิงโต้ตอบที่เพิ่มขึ้น ยากที่จะบำรุงรักษาสารบัญได้ตลอดเวลา ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์และเสียงที่ช้า สารสนเทศที่ไม่ได้กรองอาจจะท่วมผู้ใช้ พนักงานไม่ทุกคนที่จะมีคอมพิวเตอร์

.    4.นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และมีความต้องการที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันหรือติดต่อกับบุคคลอื่น เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย เพราะในยุคนี้เป็นยุคของโลกไซน์เบอร์ที่ต้องมีการพัฒนาตัวเองทางด้านคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์กันมากขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และตามทันคู่แข่งขันที่ทันสมัยที่มีการแข่งขันสูง
5.   5. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้อินทราเน็ตให้บริการทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท US West Communications
6.    6.จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตให้บริการทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Nu Skin Internetional
7.    7.นักศึกษาเคยใช้การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) หรือการพูดคุยผ่านระบบคอมพิวเตอร์(Chat) หรือการประชุมร่วมกันตัดสินใจหรือไม่ และให้เหตุผลที่จะนำเอาระบบเหล่านี้ มาที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน จงอธิบาย
ตอบ เคย เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ ส่งสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ของเอกสาร แฟ้มข้อมูลและข้อความสื่อประสม
8.    8.จงยกตัวอย่างเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
ตอบ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง การส่งโทรสาร งานสิงพิมพ์บน

นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ 3/2

คำถามจากกรณีศึกษา บทที่ 5

1.   1. อะไรคือความท้าทายของ US West ในการติดตั้งอินทราเน็ต Global Village และมาได้จากอะไร
ตอบ โครงการหมู่บ้านไร้พรมแดนและเริ่มงานเพื่อเลี่ยนวัฒนธรรมของบริษัท การติดต่อสื่อการและความร่วมมือระหว่างพนักงานที่ง่ายขึ้น
2.   2. อินทราเน็ตเช่น Global Village ที่ได้รับผลตอบแทนการลงทุนมากกว่า 1,000 เปอร์เซ็นต์ทำได้อย่างไร
ตอบ Global Village ช่วยให้พนักงานทำกระบวนการธุรกิจหลักให้สำเร็จได้รวดเร็วขึ้นและสะดวกสบายมากกว่าระบบเดิม ถูกกว่าโปรแกรมประยุกต์เดิม
3.   3. อะไรคือผลประโยชน์ทางธุรกิจอื่นๆ ของอินทราเน็ตของ US West
ตอบ อินทราเน็ตไปไกลกว่าเครื่องมือการติดต่อสื่อสาร อินทราเน็ตของ US West เป็นต้นทุนที่มีประสิทธิผล เทคโนโลยีแม่ข่ายถูกกว่าโปรแกรมประยุกต์เดิม


นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ 3/2

กรณีศึกษาจริง
ตอบคำถามกรณีศึกษา
1.   1. อะไรคือวัตถุประสงค์ของ Nu Skin ในการใช้เอ็กซ์ทราเน็ต อะไรคือผลประโยชน์ที่ Nu Skin คาดหวัง
ตอบ การเสริมเครื่องมือสนับสนุนการเจาะตลาดตามบ้าน การใช้เอ็กซ์ทราเน็ตสำหรับเก็บคำสั่งซื้อ คาดหวังที่จะลดต้นทุนการดำเนินงาน
2.   2. ตัวแทนจำหน่ายของ Nu Skin ได้รับผลประโยชน์อะไรจากเอ็กซ์ทราเน็ต
ตอบ ได้รับสารสนเทศเกี่ยวกับเครื่องสำอาง โภชนาการ และผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาที่บริษัทมีเสนออยู่ได้สั่งซื้อแบบออนไลน์ จัดการการส่งสินค้า ตรวจสอบยอดขายของตัวเองสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายใหม่และติดตามการจ่ายเช็กรายเดือน
3.   3. ทำไมเอ็กซ์ทราเน็ตจึงเป็นแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเครือข่ายของตัวแทนจำหน่ายทางด้านการตลาดธุรกิจเช่น Nu Skin
ตอบ การให้บริการบนเว็บจะทำให้เกิดการผลักดันในเรื่องการแข่งขันและจูงใจตัวแทนจำหน่ายรายใหม่และได้รับสารสนเทศที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ
                                                                 

สรุป บทที่ 5 เรื่อง อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร

อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมือนอินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อการแบ่งปันสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร ความร่วมมือ และการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ อินทราเน็ตได้รับการป้องกันด้วยมาตรฐานความปลอดภัย เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต
บริษัทต่างๆใช้เทคโนโลยีอินทราเน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล เป็นเครื่องมือความร่วมมือ เก็บประวัติส่วนตัวของลูกค้า เชื่อต่อไปยังอินเทอร์เน็ต และคิดว่าการลงทุนในอินทราเน็ตเป็นเรื่องพื้นฐานเหมือนการติดตั้งโทรศัพท์ให้แกพนักงาน
การสื่อสารและความร่วมมือ อินทราเน็ตสามารถปรับปรุงและความมือภายในองค์กร
งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ มีความง่าย ความสวยงามน่าสนใจ ต้นทุนที่ต่ำของการจัดพิมพ์และการเข้าถึงสารสนเทศธุรกิจสื่อประสมภายในผ่านเว็บไซท์อินอินทราเน็ต
การดำเนินธุรกิจและการจัดการ อินทราเน็ตถูกใช้เป็นฐานงานสำหรับการพัฒนาและนำมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและตัดสินใจด้านการจัดการระหว่างองค์กร
จากอินทราเน็ตของ Sun ทำให้ได้ความคิดที่ดีสำหรับโปรแกรมประยุกต์และบริการที่ธุรกิจสามารถนำมาให้พนักงานใช้บนอินทราเน็ต ดังนี้
-         การเรียกดู 3 แบบ ได้แก่ การเรียกดูระดับองค์กร การเรียกดูตามหน้าที่ และ
การเรียกดูตามภูมิศาสตร์
-         มีอะไรใหม่ๆ                                  -    การเดินทาง
-         ห้องสมุดและการศึกษา                     -    ทรัพยากรมนุษย์และสิทธิประโยชน์
-         การตลาดและการขาย                      -    วิทยาเขตของ Sun
-         สารบัญแฟ้มผลิตภัณฑ์                     -    ชุดบริการ
-         สารสนเทศทางวิศวกรรม                   -    ชุดเครื่องมือก่อสร้าง
ทรัพยากรเทคโนโลยีอินทราเน็ตอินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่มีลักษณะเหมือนอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ ดังนั้น อินทราเน็ตจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของเว็บบราวเซอร์ แม่ข่าย เครือข่ายรับและให้บริการ และฐานข้อมูลสื่อหลายมิติที่สามารถเข้าถึงได้บนอินทราเน็ตและ WWW
มูลค่าทางธุรกิจของอินทราเน็ต
-         การประหยัดต้นทุนงานสิ่งพิมพ์ ช่วยลดการพิมพ์ การส่งไปรษณีย์ และการกระจายต้นทุน
-         การประหยัดต้นทุนการอบรมและการพัฒนา การเข้าถึงสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์จัดพิมพ์เว็บสำหรับอินทราเน็ตที่ง่ายกว่าวิธีการเดิมมาก
บทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต
ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิดหรือเอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้าและเพิ่มความเป็นหุ้นส่วน
มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของเอ็กซ์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ
ระบบความร่วมมือองค์กร
เป้าหมายของระบบความร่วมมือองค์กร คือ การสามารถทำงานร่วมกันที่ง่ายขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
-         การติดต่อสื่อสาร แบ่งปันสารสนเทศกับผู้อื่น
-         การประสานงาน ประสานความพยายามในเรื่องงานของแต่ละบุคคลและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
-         ความร่วมมือ ทำงานร่วมกันในโครงการร่วมและงานที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนประกอบของระบบความร่วมมือองค์กร
เป็นระบบสารสนเทศ ดังนั้น จึงใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูลและครือข่าย เพื่อนสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างสมาของทีม
กรุ๊ปแวร์สำหรับความร่วมมือองค์กร กรุ๊ปแวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนใช้สารสนเทศร่วมกันกับผู้อื่นและทำงานร่วมกันในหลายๆโครงการ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โปรแกรมการจัดการติดต่อบนเครือข่ายสำเร็จรูปและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงโปรแกรมการใช้เอกสารร่วมกัน
เครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
-         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ
-         โทรศัพท์อินเทอร์เน็ตและโทรสาร เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรษณีย์เสียง และนำสู้การสนทนาสองทาง
-         งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ เป็นเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญสำหรับความร่วมมือองค์กร ได้แก่ ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์
เครื่องมือการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
ช่วยให้ผู้ใช้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งปันสารสนเทศทำงานร่วมกันที่ได้รับหมอบหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม
-         การประชุมข้อมูล ผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่าย สามารถเรียกดูแก้ไข ปรับปรุง บันทึกการแก้ไขลงที่กระดาษสีขาว เอกสาร และสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกัน
-         การประชุมเสียง การสนทนาทางโทรศัพท์ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมผ่านทางโทรศัพท์หรือเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต
-         การประชุมทางวีดีทัศน์ แบบทันทีและการประชุมทางไกลโดยเสียง ระหว่างผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่ายหรือระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห้องประชุมที่ต่างสถาบันกัน รวมการใช้กระดาษสีขาวและการแบ่งปันเอกสาร
-         กลุ่มหรือชุมชนสนทนา เตรียมระบบสารสนเทศเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อกระตุ้นและจัดการสนทนาข้อความแบบออนไลน์ในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจพิเศษหรือทีมโครงการ
-         ระบบพูดคุย การทำให้ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่าบนเครื่องลูกข่ายสามารถสนทนาข้อความแบบออนไลน์ได้แบบทันที
-         ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ห้องประชุมกับเครื่องลูกข่าย โดยเครื่องฉายภาพจอภาพขนาดใหญ่ และซอฟต์แวร์ EMS เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือและการตัดสินใจของกลุ่มในระหว่างการประชุมทางธุรกิจ
เครื่องมือการจัดการงานที่ทำร่วมกัน
ช่วยให้คนทำงานได้สำเร็จหรือจัดการกิจกรรมที่ทำงานร่วมกัน
-         ปฎิทินและกำหนดการ การใช้ปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์และคุณสมบัติอื่นของกรุ๊ปแวร์เพื่อทำกำหนดการ บอกล่าว หรือเตือนอัตโนมัติแก่สมาชิกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทีมและกลุ่มร่วมงานของการประชุม การนัดหมายและเหตุการณ์อื่นๆ
-         งานและการจัดการโครงการ จัดการทีมและกลุ่มร่วมงานโครงการด้วยกำหนดการ การติดตามและทำแผนภูมิสถานะความสำเร็จของงานภายใต้โครงการ
-         ระบบกระแสงาน ช่วยให้คนงานที่มีความรู้เครือข่ายร่วมมือเพื่อทำงานให้สำเร็จและจัดการการไหลของงานที่มีโครงสร้างและการประมวลผลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในกระบวนการทางธุรกิจ
-         การจัดการความรู้ จัดระเบียบและแบ่งปันแบบฟอร์มของสารสนเทศทางธุรกิจที่สร้างภายในองค์กร รวมทั้งการจัดการโครงการและห้องสมุดเอกสารองค์กร ฐานข้อมูลการสนทนา ฐานข้อมูลเว็บไซท์สื่อหลายมิติ และฐานความรู้ประเภทอื่นๆ
นางสาววิภาดา จำปางาม บกจ3/2