วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นักศึกษาทำกรณีศึกษาต่อไปนี้

กรณีศึกษา 3 Gulfstream Aerospace ปรับปรุงแผนก MIS เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัท
ปัญหาและข้ออภิปราย

1. พนักงานของบริษัท Gulfstream ได้ให้ความเห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาบริษัทเป็นองค์การที่ทำงานได้ผลดีเพราะสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายหลักๆ ได้ อย่างไรก็ตามการทำงานของบริษัทยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ระบบสารสนเทศประเภทใดบ้างที่บริษัท Gulfstream ควรจะนำมาใช้กับการจัดซื้อ-จัดหา การตกแต่งในขั้นสุดท้าย และการบริการ และการบำรุงรักษา เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ตอบ ระบบวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร ( ERP ) หลักการสร้างกรอบการทำงานเพื่อจัดการกิจกรรมทั้งหมด ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบไปจนถึงลูกค้าประกอบด้วย การวางแผน การจัดซื้อจัดหา การผลิต และการจัดส่งสินค้า การประเมินผลการปฏิบัติงาน

2. ในการจ้างนาย Willium Lawe ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาเป็น CEO ของบริษัท ท่านคิดว่ามีประโยชน์ต่อบริษัทอย่างไร
ตอบ
นาย Lawe ได้มีการวางแผนกลยุทธ์ระบบการบริหารบริษัทมาหายรูปแบบ เพื่อควบคุมระบบงานในหน่วยงานย่อยๆของ Lawe คาดหวังภายในสองถึงสามปีบริษัทจะต้องมีความก้าวหน้าและขยายเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
3. การปรับเปลี่ยนหน้าที่ของนักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์มีประโยชน์ต่อบริษัท Gulfstream อย่างไร
ตอบ
มีประโยชน์คือต้องมีการพัฒนาโปรแกรมมาช่วยในการทำงานได้ในแต่ละฝ่ายที่เป็นระบบการจัดการที่ขึ้นส่งต่อหน่วยกลาง
4. โครงสร้างส่วนใดของบริษัทที่ดูเหมือนว่าจะยังคงเดิมอยู่ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง CEO ของบริษัท และระบบการบริหารงานใดที่ผู้บริหารงานใหม่ได้นำมาใช้เพื่อพัฒนาบริษัท และถ้ามีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเกิดขึ้นภายในหน่วยงานควรจะจัดการปรับเปลี่ยนอย่างไร ท่านคิดว่าระบบที่นาย Lawe นำมาใช้จะยังคงเป็นระบบรวมอำนาจอยู่ต่อไปหรือไม่ อย่างไร จงให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับระบบการกระจายอำนาจ (Decentralized)
ตอบ โครงสร้างคณะผู้บริหารที่สำคัญของบริษัทเท่านั้น ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและระบบการบริหารผู้บริหารได้สร้างระบบการจัดการที่ขึ้นตรงต่อหน่วยงานการ ทางบริษัทควรจัดเปลี่ยนโครงสร้างในแต่ละแผนกแต่ละบุคคลที่เหมาะสมกับงานและระบบที่นาย Lawe นำมาใช้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมารวมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่จะเกี่ยวกับบริษัทและระบบการกระจายอำนาจ (Decentralized ) ควรมีการจัดโครงสร้างที่ดีมีการมอบหมายงานที่ชัดเจนต้องระบุหน้าที่ที่เหมาะสมกับบุคลากร
5. อะไรที่เป็นอิทธิพลที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในแผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ของบริษัท Gulfstream Aerospace และจากอิทธิผลดังกล่าวจะทำให้ลักษณะการทำงานภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
ตอบ
สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ในแต่ละองค์กรต้องมีการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ดี สามารถแข่งขันเพื่อความได้เปรียบมากกว่าบริษัทอื่นๆ

โดย นางสาววิภาดา  จำปางาม   บ.กจ. 3/2

ให้นักศึกษาอธิบายภาพต่อไปนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ

 

 
ให้นักศึกษาอธิบายภาพต่อไปนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ
บุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศดังนี้
ระดับปฏิบัติการ
บุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั้นคือบุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
ระดับวางแผนปฏิบัติการ
บุคคลในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิงานประจำวัน และการวางแผนปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้น ๆ เช่น แผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำไตรมาส ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ผู้จัดการแนกจายตรงอาจต้องการรายงานสรุปผลการขายประจำไตรมาสของพนักงานขาย เพื่อประเมินผลของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
ระดับวางแผนการบริหาร
บุคลากรในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งทำหนาที่วางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาวตามที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทาบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่าง ๆ รวมทั้งอาจต้องการทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายอย่างไรบ้าง
ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
ผู้บริหารระดับนี้จะเป็นระดับสูงสุด ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trand analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีก 4 ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ใดจะมีแนวโน้มที่มีกว่า หรือผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้ เป็นต้น

นางสาววิภาดา   จำปางาม บ.กจ. 3/2 

E- Office คืออะไร


  E- Office  คืออะไร 
E- Office  คือ การนำเอา ข้อมูล ที่ มีอยู่ ใน Server ที่ใช้งานปัจจุบัน  นำมาจัดเลือกข้อมูล ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น เอกสาร  Word, Excel ,Powerpoint  ,PDF ,JPG ,BMP  ฯลฯ  นำมา Share ข้อมูล ให้อยู่ในระบบของ Web Server  และระบบการกำหนด รหัสผ่าน ในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องการ โดยการกำหนด User และ Password    เพื่อให้สามารถใช้งาน  ข้อมูล ต่าง ผ่านระบบ Internet ( Internet Explorer ) ใช้งานได้ ทั่วทุกที่ เพื่อไม่ให้ขาดข้อมูล หรือเอกสาร สำคัญๆ  ณ ในเวลานั้น
คุณสมบัติของระบบ E-Office
รันอยู่ในระบบ Web Server   และเครื่องของคุณเอง 
การ Download ข้อมูลอย่างรวดเร็ว
รองรับเอกสาร doc ,xls ,ppt ,jpg ,bmp ,pdf    ( และสามารถดูตัวอย่างของเอกสารได้ ใน doc ,xls ,pdf)
มีระบบการป้องการเอกสาร โดยการกำหนด รหัสผ่าน
มีระบบ User และ Password
สามารถ สร้าง Slide Show ดูได้  ในรูปแบบของ jpg  file
ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก
และอื่นๆ อีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติม
www.osnuke.tk
จาก :http://www.cmprice.com/forum/?content=detail&wb_type_id=14&topic_id=2662
PRAXTICOL คือโปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติ(e-office)ที่ประกอบด้วยระบบ Workflow, ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ระบบจัดเก็บและค้นหาเอกสาร และระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนการลดประมาณการใช้กระดาษ ให้น้อยลง เน้นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งเรื่องตลอดจนการจัดเก็บและค้นหาข้อมูลเอกสารสำคัญอื่นๆ ในองค์กรให้มีการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ค้นหาได้ถูกต้องและรวดเร็ว
 จาก :http://th.88db.com/Computer-IT-Internet/Programming-Software/ad-56869/

นางสาววิภาดา  จำปางาม บ.กจ. 3/2

แบบฝึกหัด วันที่ 30 สิงหาคม 2554

แบบฝึกหัด
1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร
 ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวลจัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
ในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจในการค้าขาย การผลิตสินค้า และการให้บริการทางสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและการปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง  เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามประกอบการไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทำรัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้น และยังช่วยในการพัฒนาในเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจักการให้บริการสังคมพื้นฐาน อาทิเช่น ด้านการศึกษา และการสาธารณสุข ฯลฯ
2. สารสนเทศสนับสนุนงานขององค์กรอย่างไร บ้าง จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ  ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
ที่มา: http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson9-1.asp
3. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไรบ้าง
ตอบ ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ ผู้บริหารจำเป็นมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management)  และตลาด(Market) หรือ 6 M’s นั่นเอง โดยมีบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ เช่น บริษัท NOKIA  ได้มีการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบดิจิตอลมากกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งในอดีตผู้นำคือบริษัท โมโตโรล่า ที่ยังเน้นเทคโนโลยีระบบอนาลอก บริษัทต้องเสียเวลามาปรับกลยุทธ์กับสินค้าใหม่แต่ก็ช้าเกินไป ทำให้ NOKIA สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ทั้ง ๆ ที่ในอดีต NOKIA เป็นบริษัทเล็ก ๆ ของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีประชากรแค่ 5.3 ล้านคน จึงมีการตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศเล็ก ๆ นี้จึงสามารถเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมา ได้อย่างไร?
NOKIA เป็นตัวอย่างที่องค์กรต่าง ๆ พยายามศึกษาถึงกลยุทธ์ความสำเร็จ แต่การที่จะเป็นผู้นำได้นั้น ไม่สามารถสร้างในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้ จากการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่เป็นหัวใจหลักของการประสบความสำเร็จก็คือ รัฐบาลฟินแลนด์มีนโยบายให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยการพยายามส่งเสริมภาคเอกชนมีการทำวิจัยและพัฒนาพร้อมไปกับผลงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge) ของภาคเอกชนให้สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้ ทำให้ประเทศฟินแลนด์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประเทศอื่น ๆ ก็สามารถที่จะทำให้มีความได้เปรียบเช่นเดียวกับประเทศฟินแลนด์เช่นกัน ดังภาพที่ 1 ซึ่งแสดงลำดับขั้นของการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ
ที่มา : http://tulip.bu.ac.th/~jarin.a/content/Innovation/compet_advantage.htm
4. .ให้นักศึกษาอธิบายหัวข้อต่อไปนี้
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน
ตอบ ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ เอสซีเอ็ม  (Supply Chain Management -- SCM) คือ การจัดการ
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นระบบสารสนเทศที่รองรับระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน ต้องการประสานและเชื่อมต่อข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบสำหรับสร้างสินค้าและบริการ การนำส่งลูกค้า การจัดการคลังสินค้า และบริการหลังการขาย เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ระบบที่มีประสิทธิภาพจะสามารถลดค่าใช้จ่ายการทำงานแต่ละขั้นตอน ตามแนวคิดของห่วงโซ่คุณค่า (value chain)
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
ตอบ ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือ ซีอาร์เอ็ม  (Customer Relationship Management -- CRM)  การจัดการ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ คือ การจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวกับลูกค้าในปัจจุบัน และลูกค้าที่คาดว่าจะมีในอนาคต เป็นการประสากระบวนการขาย การตลาดและการให้บริการทั้งหมด ดังนั้นระบบสารสนเทศที่รองรับระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลในงานต่าง   วิเคราะห์ ประเมินคุณค่าของลูกค้า ค้นหากลุ่มลูกค้า ความต้องการในสินค้าและบริการ เพื่อนำปรับปรุงให้สอดคล้องต่อไป
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
ตอบ การจัดการความรู้   (knowledge management) การจัดการความรู้ในองค์การกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เพราะความสำเร็จขององค์การขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์การ ในการรวบรวมความรู้ สร้างความรู้ใหม่ จัดเก็บ ค้น และนำความรู้ไปใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้เกิดบริการสินค้า หรือกระบวนการทำงานใหม่ขึ้น ความรู้ในองค์การได้แก่ ความรู้ที่มีการเขียนอย่างเป็นทางการ (explicit knowledge)   ความรู้ที่ชัดแจ้ง) เช่น คู่มือการผลิต รายงานวิจัย  และความรู้แบบที่สอง เป็นความรู้โดยนัย  (tacit knowledge)  เกี่ยวกับทักษะประสบการณ์ แต่ไม่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเช่น  ความรู้ด้านระบบการผลิตสินค้า  ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่ซับซ้อนขององค์การหรือหน่วยงานภายนอก ซึ่งทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและคล่องตัว  ความรู้เหล่านี้กระจัดกระจายทั้งในตัวบุคคล เอกสาร รายงานการวิจัย ฐานข้อมูลการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ
                 ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการความรู้ หรือ เคเอ็มเอส (Knowledge Management System -- KMS) มีเครื่อง  มือสนับสนุนในการสร้างและจัดการความรู้หลายประเภท โดยประยุกต์เครื่องมือต่าง ๆ ให้สามารถจัดการความรู้ที่มีหลายรูปแบบและกระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ได้ 
ระบบสารสนเทศด้านอัจริยะทางธุรกิจ
ตอบ จากความจำเป็นในการแข่งขันด้านธุรกิจ ส่งผลให้ระบบสารสนเทศต้องมีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความต้องการในเชิงธุรกิจ ที่จริงแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบสารสนเทศเป็นอาวุธสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจเลยทีเดียว บริษัทหลายแห่งยอมลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากกับระบบเพื่อมุ่งหวังผลการเจริญเติบโตทางธุรกิจ และในเวลาเดียวกันก็มุ่งหวัง การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ มาชดเชยด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นทั้งระบบจะต้องตอบสนอง และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้รับมือกับความเปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที ซึ่งถ้าจะมองไปแล้วระบบเครือข่าย ก็เป็นตัวจักรสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ต้องทำงานประสานกับแอพพลิเคชั่น และผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ถือเป็นองค์ประกอบที่บริษัทไม่สามารถปล่อย ให้เกิดการหยุดทำงานได้อีกต่อไป ลองสังเกตดูง่ายๆ ในสมัยก่อนถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟดับขึ้นมา พนักงานทุกคนก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ เราจึงต้องมีระบบสำรองไฟขึ้นมาใช้ เช่นเดียวกันกับสมัยนี้ ถ้าระบบเครือข่ายเสียขึ้นมาต่อให้เซิร์ฟเวอร์ และแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้ไม่มีปัญหาอะไร พนักงานก็แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย
ที่มา:http://www.ngoscyber.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=707&auto_id=11&TopicPk=

นางสาววิภาดา  จำปางาม บ.กจ. 3/2

1.สาเหตุบ่งชี้และสัญญาณที่จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์กร มีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างให้ชัดเจน

            1. ผู้นำเปลี่ยยน จะมีแนวคิดและรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม หลายสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับองค์กรจะถูกเปลี่ยน จะมีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ รูปแบบกลยุทธ์ใหม่ และอีกหลายสิ่ง
            2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยน สิ่งที่เคยทำมานานจะสร้างความเคยชินในองค์กรแต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน

                3. ขนาดองค์กรเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดหรือควบรวมกิจการทำให้ขนาดองค์กรใหญ่ขึ้น บุคลากรภายในองค์กรต้องปรับตัว อาจมีการโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ คนที่ไม่เหมาะสมอาจถูกปลด คนที่อยู่ต้องทำงานหนักขึ้น หรือต้องไปทำงานต่างถิ่นต่างหน่วยงาน หากบุคลากรขาดศักยภาพก็จะไม่เป็นที่ต้องการขององค์กรต่อไป
                 4. สินค้าและบริการเปลี่ยน เมื่อสิ่งที่องค์กรสร้างขึ้นมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สิ่งเหล่านั้นย่อมสูญหายไปจากตลาด สิ่งใหม่จะเข้ามาแทนที่ องค์กรต้องมีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ เราต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงเสมอไม่ว่าจะเป็นของคู่แข่งหรือภายในองค์กรเอง เราต้องพยายามปรับตัวเองให้พร้อมกับสิ่งใหม่ เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าเสมอ



นางสาววิภาดา  จำปางาม บ.กจ. 3/2

คำถามกรณีศึกษา บทที่ 6

1. ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักร สามารถช่วยให้เกิดผลกำไรสูงขึ้น และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร
ตอบ
ในโรงเลื่อยแถบตอนใต้ ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องเลเซอร์ (Laser Vision Systems) จะวัดขนาดของไม้ซุงและคำนวณการเลื่อยไม้ซุงนั้นให้ได้ผลกำไรคุ้มค่าที่สุดภายใต้สภาพตลาดปัจจุบัน
เพื่อให้ได้มาตรฐาน เครื่องเลเซอร์ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Mercedes-Benz .oU.S. ได้กำหนดการวัดขนาดไว้หลายประการเพื่อใช้กับตัวถังรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่
เครื่องส่องขยายกำลังสูง ใช้ตรวจสอบสิ่งที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่มนุษย์จะเห็นได้ อย่างเช่น การตรวจหาสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กจิ๋วในโรงงานผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ( Semiconductor)

2. ประโยชน์ทางธุรกิจที่ Gulf States Paper ได้รับจาก ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรคืออะไร ตอบ เทคโนโลยีซึ่งเชื่อมต่อดวงตาที่ไม่เคยกระพริบนี้เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่จะแปลงภาพสิ่งที่เห็น ซึ่งไม่เพียงแต่จะคอยบังคับหุ่นยนต์ที่ประกอบประตูรถยนต์เข้ากับตัวถังรถยนต์เท่านั้น แต่ยังสามารถคัดพืชผักที่มีตำหนิออกจากกระบวนการผลิตอาหารแช่แข็ง แม้กระทั่งช่วยให้มั่นใจว่าแคปซูลยานั้นถูกส่งไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องหรือไม่อีกด้วย

3. ระบบสารสนเทศชนิดอื่นๆที่จำเป็นในการสนับสนุนการทำงานของระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรที่ใช้ใน Gulf States Paper คืออะไร เช่น คุณคิดว่าข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตลาดไม้แผ่นถูกนำมาป้อนให้แก่ระบบนี้ได้อย่างไร
ตอบ ระบบมองภาพจะคำนวณขนาดของแผ่นไม้ที่จะให้ผลกำไรสูงสุดโดยมีการสูญเสียไม้แต่ละท่อนให้น้อยที่สุดบนจอวิดีโอ จะเห็นแผนภาพขนาดของแผ่นไม้ที่คอมพิวเตอร์จะตัดไม้นั้น
 คำถามกรณีศึกษา
Book -Of -The-Month Club:การตลาดแบบขายตรงบนเว็บ

1.คุณคิดว่าทำไมการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ถึงจะดีกว่าการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบไปรษณีย์ สำหรับ Book -Of -The-Month Club
ตอบ การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากพวกเขามีทางเลือกมากกว่าแคตาล็อกที่จะส่งให้ลูกค้า 17 ครั้งต่อปี โดยจะมีรายชื่อหนังสือใหม่ 30 ชื่อเรื่องและลดราคาหนังสือเดิม 200 ชื่อเรื่องต่อครั้ง ลูกค้าสามารถเลือกหนังสือได้มากกว่า 3,200 รายการ ซึ่งให้รายละเอียดเป็นพิเศษในเรื่องของเนื้อหา ประวัติของผู้เขียน คำวิจารณ์ของบรรณาธิการ และอื่นๆ
2.   คุณเห็นด้วยกับนักการตลาดออนไลน์ไหมว่า ชื่อตราผลิตภัณฑ์อย่าง Book-Of-The-Month Club สามารถมีความได้เปรียบในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ทำไมจึงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ตอบ  เห็นด้วย เพราะ ระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้ชื่อสียงของร้านมีความทันสมัยมากขึ้น เปนผลตอบแทนที่ดีแบบไม่ได้ตั้งใจ

3.   มีขั้นตอนอื่นๆ อีกไหมที่ Book-Of-The-Month Club ควรใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจบนเว็บ
ตอบ 1.  การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
       2.  การรวบรวมข้อมูล
      3.   การจัดการฐานข้อมูล
      4.    การวิเคราะห์ข้อมูล
     5.    การนำไปปฏิบัติและตอบสนองลูกค้า
      6.    การวะเคราะห์การตอบกลับของลูกค้า

นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ 3/2

กรณีศึกษา บทที่ 7

กรณีศึกษา Parsons Brinckhoff: ระบบอินทราเน็ตที่ว่า "ระบบสารสนเทศของทุกๆคน
1. ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น "ระบบสารสนเทศของทุกๆคน"
ตอบ เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลายๆแห่ง

2. อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
ตอบ บริษัทใช้การสนทนาระบบออนไลน์ภายในเครือข่ายพื้นที่ปฏิบัติการ โดยวิศวกรที่มีความชำนาญจากทุกมุมโลก เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาในการปรับปรุงของบริษัทและโครงการทางวิศวกรต่างๆ ซึ่งในการสนทนาผ่านทางระบบ PAN จะตั้งหัวเรื่องในการสนทนา

3. อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
ตอบ ผลที่ได้คือ สะพานแขวน 10 ช่องทางที่ออกแบบโดยบริษัท ซึ่งสะพานดังกล่าวไม่เพียงจะสวยงาม แต่ยังช่วบลดปัญหาการจราจรบนท้องถนนภายในเมือง Boston ได้อีกด้วย ซึ่งสะพานนี้จะเป็นสะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก


 คำถามกรณีศึกษา Office Depot,Inc. มูลค่าทางธูรกิจของการประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์
1. อะไรเป็นมูลค่าทางธุรกิจของการประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์ของบริษัท Office Depot
ตอบ ลูกค้า

2.บริษัท Office Depot ได้ผลจากการลงทุนสำหรับเทคโลยีสารสนเทศที่นำ OLAP ไปใช้งานอย่างไร
ตอบ Office Depot เตรียมผู้จัดหาสินค้าที่มีการทำงานร่วมกับการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดในระบบอินทราเน็ตที่ใช้ Wired ของการเชื่อมโยงใน OLAP

3. บริษัท Office Depot ควรที่จะมีการเตรียมให้ผู้จัดส่งสินค้าผ่านเอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดหรือไม่ เพราะอะไร
ตอบ  บริษัทพร้อมที่จะแบ่งส่วนในการทำงานของการขายร่วมกับผูจัดหาสินค้าหลักอีกสองแหล่งทั้งหมดที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนแปลงชุดการติดต่อธุรกิจภายใน

นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ 3/2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

1.  
  1.ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศ จึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายด้าน
ตอบ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในธุรกิจและผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานระบบสารสนเทศ สามารถสนองความต้องการการใช้งานด้านธุรกิจได้
2.    ทำไมระบบการตลาดปัจจุบัน จึงเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต จงอธิบาย
        ตอบ การตลาดทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้า องค์ธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการตลาดที่สำคัญในอันที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็
3.    จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Gulf States Paper Corporation
4.    ระบบการขายในสำนักงานอัตโนมัติ มีผลกระทบต่อพนักงานขาย พนักงานฝ่ายบริหารการตลาด และฝ่ายจัดทำเรื่องการแข่งขันอย่างไร
ตอบ การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเคลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆบริษัท ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินทราเน็ตของบริษัท
5.    ระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต สามารถนำมาช่วยในการทำงานร่วมกันในกระบวนการผลิตได้อย่างไร
ตอบ กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตและเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อโยงกับสถานีงาน
6.    ระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ช่วยสนับสนุนด้านการการจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร ยกตัวอย่างมาอย่างละ 3 ตัวอย่าง
ตอบ อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ตและสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - อินทราเน็ต เช่น การให้บริการตัวเองของลูกจ้างจะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน
7.    เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบัญชี และการเงินอย่างไร อธิบาย
      ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ด้านการบัญชีจะทำการบันทึกและรายงานการไหลเวียนของเงินทุนภายในองค์กรในเรื่องที่สำคัญในอดีตและผลิตรายการด้านการเงิน ส่วนระบบสารสนเทศด้านการเงิน สนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัท เป็นต้น
8.    ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจเอง นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสาระสนเทศมาใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ตอบ ใช้ เพราะระบบสารสนเทศสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราไปอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกในการบริหารงานมากขึ้น ยิ่งในเรื่องของระบบสารสนเทศด้านบัญชีที่ช่วยในเรื่องของระบบบัญชีออนไลน์ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น


นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ 3/2

สรุป บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
      ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ   เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำหรับการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงองค์การใน 4 ระดับ คือ การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบงานใหม่ และการเปลี่ยนแนวความคิด
ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงองค์ก
      เทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากจะถูกนำมาช่วยในการดำเนินงานขององค์การให้บรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว  ยังเป็นเครื่องมือสำหรับการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงองค์การใน  4  ระดับ  คือ
1.  การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ (Automation)
 2.  การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) 
 3.  การออแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR)
 4.  การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts)
  ระดับของกลยุทธ์
       กลยุทธ์ (Strategy)  คือ   แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่างๆมาใช้ประโยชน์  และปรับลดจุดด้อยเพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรค  ซึ่งจะทำให้องค์กรสามรถอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว  รวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วไปมีกลยุทธ์ 3 ระดับ  ดังนี้
        1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy)   กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญ  กับการดำเนินงานในระยะยาว  มุ่งพิจารณาถึงธุรกิจที่องค์การควรดำเนินการ
       2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) กำหนดโดยผู้บริหารหน่วยธุรกิจ ให้ความ สำคัญกับการ
      3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) กำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น
  แข่งขันของหน่วยธุรกิจ
        การเงิน การตลาด การดำเนินการ และทรัพยากรบุคคล   เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า

 

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
      1.   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)     วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอกองค์การ   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การจะพิจารณาเกี่ยวกับโอกาส และ อุปสรรค จะแบ่งเป็น
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป   วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในมุมกว้าง เช่น ปัจจัย
-   ทางการเมือง  เทคโนโลยี  สังคม  และ เศรษฐกิจ
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน   เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลเกี่ยวเนื่อง  
  กับการดำเนินงานโดยตรง เช่น รัฐบาล วัตถุดิบ คู่แข่งขัน ลูกค้า
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็ง  จุดอ่อน ขององค์การ 
      2. การกำหนดกลยุทธ์   (Strategy Formulation)        นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมากำหนดทิศทาง แนวทาง กรอบความคิด
     3. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)   นำแผนที่กำหนดไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับปัจจัยทั้งทางตรงทางอ้อมที่มีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลวของกลยุทธ์
  4.  การควบคุมกลยุทธ์         (Strategy Control)          กำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการวัด และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ การควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลว่าเป็นไปตามแนวทางที่ต้องการหรือไม่
ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์   คือ ระบบสารสนเทศใดๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาพการแข่งขันขององค์การให้ดีขึ้น
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์   คือ ระบบที่สนับสนุนหรือกำหนดแนวทางกลยุทธ์ในการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์   คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยให้องค์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  ลดความเสียเปรียบ ช่วยให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์การ




โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์  ( Portes’s Competitive Force Model)
ไมเคิล  อี. พอร์เตอร์  ได้พัฒนาโมเดลเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน ( Competitive Forces ) ดังนี้
1. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด  ( Threat  of   Entry  of  New  Competitors  )
2. อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต  ( Bargaining  Power  of  Suppliers )
3. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า  (Bargaining  Power  of  Buyers/Customers )
4. การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆในอุตสาหกรรม  ( Rivaly  Among  Existing  Competitors )
5. อุปสรรคที่เกิดจากสินค้า หรือ บริการทดแทน  ( Threat  of  Substitute Products/Services )
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
พอร์เตอร์  ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  ดังนี้
1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost  Leadership  Strategy)  องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation  Strategy ) การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น
3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย  (Focus  Strategy)  การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีคู่แข่งน้อยลง แต่มีช่องว่างทางการตลาด กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้า และ บริการ  เช่น  กระเป๋ายี่ห้อดัง ( Brand Name )   รถยนต์ที่เน้นความปลอดภัยขอผู้ขับขี่และผู้โดยสาร     นาฬิกา สวิส์   สุดยอดแห่งความเที่ยงตรง คงทนและงดงาม

 กรอบแนวคิดของไวส์แมน

 

ไวส์แมน ได้ขยายความคิดของ พอร์เตอร์ และเสนอกรอบแนวคิดที่เรียกว่า ทฏษฎีแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategy Thrust ) องค์การจะจัดการเก็บแรงผลักดันต่างๆ โดยสร้างกลยุทธ์ดังนี้
1.   กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง    (Diffentiation)
2.   กลยุทธ์ด้านราคา                    (Cost)
3.   กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม           (Innovation)
4.   กลยุทธ์ด้านการเจริญเติบโต   (Growth)
5.   กลยุทธ์ด้านพันธมิตร              (Alliance)
       โดยมีแนวคิดกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง  และกลยุทธ์ด้านราคา จะเหมือนกับแนวคิดของพอร์เตอร์ สำหรับกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมนั้นเป็นวิธีการหรือการกระทำใหม่เพื่อสร้างสินค้าใหม่ ผลิตและส่งสินค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ หากมีการพัฒนานวัตกรรมของสินค้า หรือบริการอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน
      ส่วนกลยุทธ์ด้านการเจริญเติบโตเป็นการขยายตัว และสร้างคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นโดยอาจขยายตัวในแนวระนาบ
      องค์การอาจใช้กลยุทธ์ด้านพันธมิตร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การสร้างระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ ที่เชื่อมต่อระบบสารสนเทศขององค์การเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การอื่น โดยมีการใช้ข้อมูลร่วมกันและเป็นกระบวนการทำงานอัตโนมัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ
โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model)
1) การแข่งขันจากคู่แข่งขัน (Rivalry among Existing Competitors)
2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่
3) แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน
4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5) อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์


Porter (1985) ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเป็น 3 ประเภท คือ
1) กลยุทธ์โดยใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy)
การผลิตสินค้า/บริการด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
กลยุทธ์ในการสร้างสินค้า/บริการซึ่งมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันหรือการพัฒนาสินค้า/บริการใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งคู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
3) กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
กลยุทธ์ในการเลือกตลาดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายซึ่งยังเป็นช่องว่างทางตลาด (niche market) โดยอาจะผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเรียกว่า Focused Differentiation
 
นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ  3/2