วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุป บทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
      ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ   เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำหรับการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงองค์การใน 4 ระดับ คือ การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบงานใหม่ และการเปลี่ยนแนวความคิด
ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงองค์ก
      เทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากจะถูกนำมาช่วยในการดำเนินงานขององค์การให้บรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว  ยังเป็นเครื่องมือสำหรับการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงองค์การใน  4  ระดับ  คือ
1.  การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ (Automation)
 2.  การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) 
 3.  การออแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR)
 4.  การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts)
  ระดับของกลยุทธ์
       กลยุทธ์ (Strategy)  คือ   แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่างๆมาใช้ประโยชน์  และปรับลดจุดด้อยเพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรค  ซึ่งจะทำให้องค์กรสามรถอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว  รวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วไปมีกลยุทธ์ 3 ระดับ  ดังนี้
        1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy)   กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญ  กับการดำเนินงานในระยะยาว  มุ่งพิจารณาถึงธุรกิจที่องค์การควรดำเนินการ
       2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) กำหนดโดยผู้บริหารหน่วยธุรกิจ ให้ความ สำคัญกับการ
      3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) กำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น
  แข่งขันของหน่วยธุรกิจ
        การเงิน การตลาด การดำเนินการ และทรัพยากรบุคคล   เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า

 

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
      1.   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)     วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอกองค์การ   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การจะพิจารณาเกี่ยวกับโอกาส และ อุปสรรค จะแบ่งเป็น
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป   วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในมุมกว้าง เช่น ปัจจัย
-   ทางการเมือง  เทคโนโลยี  สังคม  และ เศรษฐกิจ
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน   เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลเกี่ยวเนื่อง  
  กับการดำเนินงานโดยตรง เช่น รัฐบาล วัตถุดิบ คู่แข่งขัน ลูกค้า
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็ง  จุดอ่อน ขององค์การ 
      2. การกำหนดกลยุทธ์   (Strategy Formulation)        นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมากำหนดทิศทาง แนวทาง กรอบความคิด
     3. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)   นำแผนที่กำหนดไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับปัจจัยทั้งทางตรงทางอ้อมที่มีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลวของกลยุทธ์
  4.  การควบคุมกลยุทธ์         (Strategy Control)          กำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการวัด และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ การควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลว่าเป็นไปตามแนวทางที่ต้องการหรือไม่
ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์   คือ ระบบสารสนเทศใดๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาพการแข่งขันขององค์การให้ดีขึ้น
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์   คือ ระบบที่สนับสนุนหรือกำหนดแนวทางกลยุทธ์ในการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์   คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยให้องค์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  ลดความเสียเปรียบ ช่วยให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์การ




โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์  ( Portes’s Competitive Force Model)
ไมเคิล  อี. พอร์เตอร์  ได้พัฒนาโมเดลเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน ( Competitive Forces ) ดังนี้
1. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด  ( Threat  of   Entry  of  New  Competitors  )
2. อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต  ( Bargaining  Power  of  Suppliers )
3. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า  (Bargaining  Power  of  Buyers/Customers )
4. การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆในอุตสาหกรรม  ( Rivaly  Among  Existing  Competitors )
5. อุปสรรคที่เกิดจากสินค้า หรือ บริการทดแทน  ( Threat  of  Substitute Products/Services )
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
พอร์เตอร์  ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  ดังนี้
1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost  Leadership  Strategy)  องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation  Strategy ) การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น
3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย  (Focus  Strategy)  การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีคู่แข่งน้อยลง แต่มีช่องว่างทางการตลาด กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้า และ บริการ  เช่น  กระเป๋ายี่ห้อดัง ( Brand Name )   รถยนต์ที่เน้นความปลอดภัยขอผู้ขับขี่และผู้โดยสาร     นาฬิกา สวิส์   สุดยอดแห่งความเที่ยงตรง คงทนและงดงาม

 กรอบแนวคิดของไวส์แมน

 

ไวส์แมน ได้ขยายความคิดของ พอร์เตอร์ และเสนอกรอบแนวคิดที่เรียกว่า ทฏษฎีแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategy Thrust ) องค์การจะจัดการเก็บแรงผลักดันต่างๆ โดยสร้างกลยุทธ์ดังนี้
1.   กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง    (Diffentiation)
2.   กลยุทธ์ด้านราคา                    (Cost)
3.   กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม           (Innovation)
4.   กลยุทธ์ด้านการเจริญเติบโต   (Growth)
5.   กลยุทธ์ด้านพันธมิตร              (Alliance)
       โดยมีแนวคิดกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง  และกลยุทธ์ด้านราคา จะเหมือนกับแนวคิดของพอร์เตอร์ สำหรับกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมนั้นเป็นวิธีการหรือการกระทำใหม่เพื่อสร้างสินค้าใหม่ ผลิตและส่งสินค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ หากมีการพัฒนานวัตกรรมของสินค้า หรือบริการอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน
      ส่วนกลยุทธ์ด้านการเจริญเติบโตเป็นการขยายตัว และสร้างคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นโดยอาจขยายตัวในแนวระนาบ
      องค์การอาจใช้กลยุทธ์ด้านพันธมิตร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การสร้างระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ ที่เชื่อมต่อระบบสารสนเทศขององค์การเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การอื่น โดยมีการใช้ข้อมูลร่วมกันและเป็นกระบวนการทำงานอัตโนมัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ
โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model)
1) การแข่งขันจากคู่แข่งขัน (Rivalry among Existing Competitors)
2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่
3) แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน
4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5) อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์


Porter (1985) ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเป็น 3 ประเภท คือ
1) กลยุทธ์โดยใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy)
การผลิตสินค้า/บริการด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
กลยุทธ์ในการสร้างสินค้า/บริการซึ่งมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันหรือการพัฒนาสินค้า/บริการใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งคู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
3) กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
กลยุทธ์ในการเลือกตลาดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายซึ่งยังเป็นช่องว่างทางตลาด (niche market) โดยอาจะผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเรียกว่า Focused Differentiation
 
นางสาววิภาดา  จำปางาม บกจ  3/2


                                                                                                                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น