วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปท้ายบทที่ 4

สรุป

          การจัดการฐานข้อมูลเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการบริหารองค์การ ทั้งนี้เพราะว่าสารสนเทศจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การในการตัดสินใจเพื่อการแข่งขัน ดังนั้นองค์การในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญต่อสารสนเทศเพิ่มขึ้น
          การจัดการข้อมูล (Data management) ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งในแต่ละวัน ดังนั้นปริมาณข้อมูลก็มีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา องค์การจึงต้องมีนโยบายในการจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมมาแล้ว นำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อลดการซ้ำซ้อน หรือความขัดแย้งของข้อมูล ฐานข้อมูลประกอบด้วยแฟ้มข้อมูล (File) รายการ (Record) ฟิลด์ (Field) ไบต์หรืออักษร (Byte of character) และบิต (Bit) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด
          ประเด็นหลักในการบริหารข้อมูล คือ (1) ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล (Access) (2) จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security) (3) สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ในอนาคต (Edit) (4) ข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะต้องแบ่งเป็นส่วนหรือสร้างเป็นตารางเพื่อง่ายต่อการปรับปรุง (Update) ส่วนต่อประสานผู้ใช้ (User interface) หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
          การจัดแฟ้มข้อมูล (File management) เดิมจะมีการจัดแฟ้มในลักษณะอิสระ (Conventional file) ของแต่ละหน่วยงานจึงทำให้เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดการแฟ้มข้อมูลจะต้องพิจารณาถึง (1) การวางแผนถึงการบริหารแฟ้มข้อมูล ซึ่งจะต้องทราบรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการ (2) การแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นแฟ้มข้อมูลหลัก (Master file) และแฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) และ (3) การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล (File organization) ซึ่งสามารถจัดได้ดังนี้ (1) การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตามลำดับ (Sequential file) (2) การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตรงหรือแบบสุ่ม (Direct random file organization)
          วิธีการประมวลผล (Processing technique) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น (1) การประมวลผลแบบชุด (Batch processing) (2) การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive) และ (3) การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online processing)
          การจัดการฐานข้อมูลจะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ (1) ภาษาคำนิยามของข้อมูล (Data definition language) (2) ภาษาการจัดการข้อมูล (Data manipulation language) (3) พจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary)
          ข้อดีของการจัดการฐานข้อมูล (1) ลดความยุ่งยาก (2) ลดการซ้ำซ้อน (3) ลดความสับสน (4) ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา (5) มีความยืดหยุ่นในการขยายฐานข้อมูล (6) การเข้าถึงฐานข้อมูลและความสะดวกในการใช้สารสนเทศเพิ่มขึ้น
          ข้อเสีย (1) มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญระบบฐานข้อมูล (2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสร้างฐานข้อมูล (3) การเพิ่มอุปกรณ์ให้ใหญ่ขึ้น (4) ค่าใช้จ่ายทางด้านโปรแกรมประยุกต์
          อุปสรรค์ในการพัฒนาฐานข้อมูล (1) ความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูล (2) การสร้างแฟ้มข้อมูลทำได้ยาก (3) ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
          การออกแบบฐานข้อมูล สามารถออกแบบได้ 3 วิธี คือ (1) รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model) (2) รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data model) (3) รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model)
          การบริหารฐานข้อมูล (Database management) ภายในองค์การจะประสบผลสำเร็จจะต้องพิจารณาปัจจัย ดังนี้ (1) การบริหารข้อมูล (Data administration) (2) การวางแผนข้อมูลและวีการสร้างตัวแบบ (Data planning and modeling methodology) (3) การจัดการและเทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database technology and management) (4) ผู้ใช้ (User)



นางสาววิภาดา จำปงาม บ.กจ. 3/2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น