วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วอลมาร์ท

คลื่นลูกที่4

     เมื่อวานมีม็อบชาวนาปิดถนนที่อยุธยาจุดเริ่มสายเอเชียก่อนที่จะเข้าตัวเมืองอยุธยา ผมเองก็เป็นคนนึงที่ได้รับผลกระทบนี้เหมือนกัน เพราะต้องเดินทางจากอยุธยาเข้ากรุงเทพ เลยต้องเลี่ยงสายเอเชียออกทางถนนสายโรจนะ-วังน้อย ก็เสียเวลาเยอะเหมือนกัน แถมได้ยินคนขับรถเมล์บ่นๆด้วยว่าเปลี่ยนเส้นทางอย่างงี้ต้องทำรายงาน และยังต้องเติมน้ำมันเองแล้วไปเบิกเงินคืนทีหลังอีก เฮ้อ!! แต่ก็เข้าใจล่ะนะว่าคนเราเมื่อเดือดร้อนก็ต้องการที่พึ่ง ม็อบชาวนาก็เป็นเหตุการณ์นึงที่มีให้เราเห็นอยู่เรื่อยๆ น่าเห็นใจนะครับ ถ้ามาลองคิดๆดูน้ำก็เพิ่งจะท่วมเกือบทั่วประเทศ ผลผลิตก็แทบจะไม่ได้เก็บเกี่ยวกันเลย พอผ่านน้ำท่วมทำนาได้แล้วข้าวก็มาราคาต่ำซะอีก แล้วพี่น้องเกษตรกรจะอยู่ยังไง ผมเองก็เคยอ่านบทวิเคราะห์เรื่องราคาข้าวอยู่เหมือนกัน ก็คิดว่าราคาข้าวสารในบ้านเราน่าจะถูกกว่านี้ และในทางกลับกันราคาข้าวส่งออกน่าจะแพงกว่านี้้เพราะประเทศไทยเราเองก็ผลิตข้าวส่งออกได้เป็นอันดับต้นๆอยู่แล้ว
     เอ...พูดมาตั้งนานม็อบชาวนามันเกี่ยวอะไรกับเอมสตาร์เนี่ย เกี่ยวครับ พอดีที่เดินทางมาก็เพื่อเข้ารอบเซ็นเตอร์ ICDS Happyland ซึ่งเป็นวันนัดเทรนนิ่งของกลุ่มเราเป็นประจำทุกวันอังคารอยู่แล้ว ซึ่งผมเองก็ได้รับมอบหมายให้เทรนนิ่งในหัวข้อ "การการติดตามช่วยเหลือดาวน์ไลน์" หัวข้อเทรนนิ่งของผมก็ไม่ต้องพูดถึง ก็พอเอาตัวรอดได้(อิอิ) แต่ที่มาสัมพันธ์กับเรื่องม็อบชาวนานี่ก็เพราะว่า พี่ตังส์ ชัยณรงค์ สีมาพลกุล อัพไลน์ สอนหัวข้อแนวคิด "คลื่นลูกที่4" พอดี เนื่อหาดีมากๆ ซึ่งก็มีเรื่องชาวนามาเกี่ยวด้วยนั่นเอง
ผมก็จะเล่าในสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาให้ได้มากที่สุดละครับ ก่อนจะมาถึงยุคคลื่นลูกที่4 ก็ต้องมียุคคลื่นลูกที่1 ยุคคลื่นลูกที่2 ยุคคลื่นลูกที่3 ถึงจะมาเป็นยุคคลื่นลูกที่4 ใช่ไหมครับ งั้นเรามาดูวิวัฒนาการโลกในแต่ละยุคสมัย
กันไปทีละยุคเลยดีกว่า
คลื่นลูกที่ 1 : ยุคเกษตรกรรม  : Agricultural :อยู่ดีมีสุขเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
คลื่นลูกที่ 2 : ยุคอุตสาหกรรม  : Industrial   :แก่งแย่งชิงดี อิจฉา เอาตัวรอด
คลื่นลูกที่ 3 : ยุคข้อมูลข่าวสาร : Information Technology :ยึดติดถือดี ถ้าใช้ในทางที่ดีสร้างสรรค์ (วิวัฒน์) ถ้าใช้ในทางที่ไม่ดีทำลาย (วิบัติ)
คลื่นลูกที่ 4: ยุคเครือข่ายมวลชน : Human Network :ใครสามารถสร้างพลังมวลชนได้มากคนนั้นชนะ

คลื่นลูกที่ 1.ยุคเกษตรกรรม
คลื่นลูกที่4-ยุคเกษตรกรรม1
อาชีพที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้นรับราชการ ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพยาเลี้ยง"
คลื่นลูกที่ 2.ยุคอุตสาหกรรม
คลื่นลูกที่4-2ยุคอุตสาหกรรม
- เริ่มจากการที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องจักร   เครื่องกลต่างๆขึ้นมาได้
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆก็ถูกผลิตตามมา
- ยุคนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
การเปลี่ยนแปลงทำให้อาชีพเก่าได้รับผลกระทบ
อาชีพเกษตรกร    คนก็เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นมากขึ้น
อาชีพช่าง    ดีขึ้น
อาชีพแพทย์    ดีขึ้น
อาชีพราชการ    ถูกลดความสำคัญลง
เศรษฐีที่เกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม
คุณ ธนินทร์ เจียรวนนท์  เจ้าพ่อ CP ทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมจนร่ำรวย
คุณ เจริญ  สิริวัฒนภักดี  เจ้าพ่อเบียร์ช้าง ทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมจนร่ำรวยเหมือนกัน
ข้อสังเกตุ      คนที่ประสบความสำเร็จ  คือคนที่รู้จักเลือกอาชีพได้สอดคล้องกับยุคสมัยนั้นๆ
คลื่นลูกที่ 3. ยุคสารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสาร
คลื่นลูกที่4-3.ยุคสารสนเทศ
- ยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน
- ผู้คนทั่วโลกสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆได้พร้อมกัน
- เศรษฐกิจกระทบถึงกันหมดทั่วโลก
- อุปกรณ์สื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
- ยุคนี้คอมพิวเตอร์มีผลต่อการทำงานอย่างมาก
- งานไหนที่คอมพิวเตอร์ทำแทนคนได้ งานนั้นคนต้อง .....
- งานที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำแทนคนได้ คือ งานฝีมือ , งานที่ต้องใช้ EQ  ทำธุรกิจเอมสตาร์ ใช่ไหม ใช่แน่ๆเพราะเป็นงานที่ต้องใช้ EQ สูงมาก (แสดงว่างานนี้สอดคล้องกับยุคที่ 3)
เศรษฐีที่เกิดขึ้นในยุคนี้
บิลล์ เกตส์ เป็นมหาเศรษฐีจากการทำธุรกิจซอร์ฟแวร์
เศรษฐีของเมืองไทยที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ก็มาจากการทำธุรกิจสื่อสาร (คงไม่ต้องบอกว่าใคร)
คลื่นลูกที่ 4. ยุคเครือข่าย
4.Network
- การแข่งขันเชิงธุรกิจจะรุนแรงจนแข่งกันเจ๊ง
- ธุรกิจขนาดเล็กที่มีอำนาจต่อรองน้อย จะถูกบีบจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่า วิธีปรับตัวเพื่อความอยู่รอดคือ สร้างพันธมิตร (รวมตัวกันเป็น เครือข่าย )
- เจ้าของกิจการที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันก็ต้องรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  สภาวะน้ำมันแพง  จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ต้องลดจำนวนพนักงานลงเรื่อยๆ
- คนที่อยู่ได้จะต้องเก่งจริงและต้องทำงานหนัก
คลื่นลูกที่4-work-hard
- ในอนาคตรูปแบบการจ้างงานมีแนวโน้ม  ที่จะจ้างเป็นพนักงานชั่วคราว , ฟรีแลนซ์
- คนที่ทำงานกินเงินเดือนจะยิ่งรู้สึกถึง  ความไม่มั่นคงของชีวิต (เพราะต้องทำงานหนักเกินค่าตอบแทน , ค่าครองชีพสูงจนเงินเดือนไม่
  พอใช้ )
- คนที่ทำงานกินเงินเดือนจะถูกบีบให้ออกมาทำกิจการส่วนตัวโดยปริยาย  แต่กิจการส่วนตัวที่จะอยู่รอดได้ต้องใหญ่และต้องครบวงจร( ซึ่งคนส่วนใหญ่ทำไม่ได้ )
ดังนั้นงานที่จะสอดคล้องกับสภาพของยุคที่ 4 ก็คืองานประเภท
1. คนที่ มีความพร้อม เป็นผู้  ลงทุน (คนรวยอยู่แล้ว)
2. คนที่ ไม่อยากลงทุน เป็นผู้ ลงแรง ก็คือธุรกิจเครือข่าย (MLM)นั่นเอง
    ดังบทความจาก Wall Street Journal นิตยสารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอเมริกา ได้ทำนายไว้ว่า"ในอนาคต   75 % ของสินค้าและบริการทั้งหมดของโลกจะถูกขายผ่านกลไกของระบบ Network Marketing( การตลาดแบบเครือข่าย )"
  J. Paul Getty ได้เขียนไว้ในหนังสือ How To Get Rich  ว่า... “กฎข้อแรกของความสำเร็จคือ
   คุณต้องทำธุรกิจเพื่อตัวเอง เพราะคุณจะไม่มีทางร่ำรวย จากการทำงานให้กับคนอื่น”
เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้าเรายังไม่ได้สร้างเครือข่ายอะไรไว้เลยรีบๆนะครับเดี๋ยวจะตกยุค และถ้าวันนี้เราเองทำธุรกิจเครือข่ายอยู่มั่นใจเลยครับว่าเรามาถูกทางแล้ว รีบๆทำให้สำเร็จครับ จะได้เป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้า
คลื่นลูกที่4-Right-way-end
      บทสรุปก็คือการจะทำอาชีพอะไรให้ประสบความสำเร็จในชีวิต เน้นนะครับว่าชีวิต เราคงจะต้องดูจากตัวอย่างมหาเศรษฐีหลายๆท่านที่ทำอาชีพตามยุคสมัย หลายคนบอกว่าตัวเองอินเทรนด์ ก็อย่าให้ตกยุคนะครับ ทุกวันนี้เราเข้าสู่ยุคคลื่นลูกที่4 Wave4 ยุคแห่งเครือข่ายกันแล้ว
   แล้วมันเกี่ยวอะไรกับม็อบชาวนาเนี่ย เอาเป็นว่าเกี่ยวแล้วกันนะครับ อิอิ ไว้เจอกันใหม่
ประวัติความเป็นมา
        วอลมาร์ท เป็นชื่อของร้านค้าแนวดิสเคาน์สโตร์สัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งสาขาแรก
ที่มลรัฐอาคันซอ (Arkansas) ในปี พ.ศ. 2505 โดย แซม วอลตัน (Sam
Walton) เพื่อเป็นร้านขายของราคาถูก ปัจจุบันใช้สโลแกนว่า "Save Money
Live Better" แทนสโลแกนเดิม คือ "Always Low Prices, Always"
ซึ่งใช้มาก่อนหน้านี้ 19 ปี วอลมาร์ทยังเป็น "ต้นแบบ" ของร้านค้าประเภทเดียวกันนี้ เช่น เทสโกโลตัส
และคาร์ฟูร์ ในอดีตโลตัสของซีพีที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2537 ก็ได้นำคนจากวอลมาร์ท
เข้ามาเป็นที่ปรึกษาและวางระบบให้ ในครั้งนั้นวอลมาร์ทเกือบจะเข้ามาขยาย
การลงทุนในไทย แต่ก็เลือกไปที่จีนแทน เพราะเห็นโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่กว่า
ภายหลังกลุ่มเทสโก้เข้ามาเทคโอเวอร์โลตัส และเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้โลตัส
ต่อมาเมื่อมีการร่วมทุนจากต่างประเทศกับกลุ่มค้าปลีกไทยมากขึ้น จึงส่งผลให้
ร้านค้าปลีกในแบบดิสเคาน์สโตร์หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย
มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าวอลมาร์ทจะไม่มีสาขาในประเทศไทย
แต่ในฐานะที่มียอดขายรวมมากที่สุดในโลก
จึงถือเป็น "เบอร์ 1"  และถือเป็น "ตำนาน"
ของร้านค้าปลีกในแนวดิสเคาน์สโตร์

สารสนเทศที่นำมาใช้
RFID ไมโครชิปอัจฉริยะเทรนด์ร้อนปี 2006 ระบุเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องจับตามอง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการ ลดต้นทุนและลดขั้นตอนการทำงาน ระบุความต้องการใช้งานในไทยปีนี้จะสูงกว่าปีก่อนถึง 3 เท่าตัว
ถึงวันนี้เทคโนโลยีเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามองมากที่สุดขณะนี้ คือ เทคโนโลยีระบุตัวตนหรือสถานะของวัตถุโดยใช้คลื่นวิทยุ หรือที่เรียกกันว่า RFID (Radio Frequency Identification) โดยในช่วงปีที่ผ่านมามีกระแสการนำ RFID มาใช้ในวงการธุรกิจและมีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องก้าวตามให้ทัน เพราะในต่างประเทศมีการนำไปใช้แล้วอย่างแพร่หลาย ในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มมีการตื่นตัวเท่านั้น
จากการที่วอลมาร์ทผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในสหรัฐ ได้ผลักดันให้ซัพพลายเชนหรือคู่ค้ามีการติดตั้ง RFID แทนบาร์โค้ด โดยปี 2548 วอลมาร์ทบังคับให้คู่ค้าหรือผู้ผลิตสินค้าที่จัดส่งสินค้า 100 อันดับแรก ติดตั้งชิป RFID แทนบาร์โค้ด ส่งผลให้วอลมาร์ทลดการขาดสินค้าลงได้มากกว่า 16 % ทำให้บริษัทวอลมาร์ทเดินหน้าบังคับให้ผู้ค้าติดตั้งระบบขึ้นอีก 300 รายและต้องติดตั้งทั้งหมดในปี 2551
ด้วย RFID เป็นเรื่องใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการไทยยังมีข้อสงสัยเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน เรื่องราคา และประโยชน์ที่ได้รับจากการนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ในองค์กร ถึงแม้ว่าการใช้เทคโนโลยี RFID จะได้รับการกล่าวถึงในกลุ่มของการขนส่งหรือระบบคลังสินค้าค่อนข้างมาก แต่ความเป็นจริง RFID สามารถนำไปใช้ทั้งในภาคธุรกิจการเงิน อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมการผลิต แม้แต่งานด้านปศุสัตว์และความมั่นคงของประเทศก็สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ ได้เช่นกัน
ในเรื่องนี้ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทย เปิดเผยว่า เทคโนโลยี RFID สามารถช่วยการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต จัดเก็บ ขนส่ง และจำหน่ายสินค้า และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายในภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าตลาดสูง เช่น Access control ระบบความปลอดภัย การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นต้น ที่นับว่ามีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
จุดเด่นของ RFID ที่สำคัญ คือ การอ่านข้อมูลของฉลากโดยไม่ต้องมีการสัมผัส สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี หรือสามารถอ่านค่าได้ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่น สินค้าที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนสายพานการผลิต พร้อมทั้งทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ถูกต้องรวดเร็ว และสามารถสื่อสารผ่านตัวกลางได้หลายอย่างเช่น น้ำ พลาสติก กระจก หรือวัสดุทึบแสงอื่นๆ ในขณะที่บาร์โค้ดทำไม่ได้
“หากผู้ประกอบการต้องการนำเทคโนโลยีตัวนี้มาใช้ ลำดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า RFID คืออะไรและต้องการนำไปจัดการควบคุมอะไร เพราะ RFID เป็นแค่เครื่องมือหนึ่งเท่านั้น หากไม่มีซอฟต์แวร์ ไม่มีเรื่องเทคโนโลยีและไม่มีเรื่องของสแตนดาร์ท ก็จะไม่เกิดประโยชน์ที่จะนำ RFID ไปติดตั้ง” ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าว
RFID เสริมทัพอุดช่องโหว่ธุรกิจ
สิ่งที่ผู้ผลิตจะได้ประโยชน์จากการใช้ RFID คือ ช่วยในการวางแผนการผลิต การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง การทำสต็อค การส่งสินค้า ทุกวันนี้วอลมาร์ทสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถทำ Just in Time Inventory หรือ Reshelf Stocking เมื่อสินค้าหมดจาก shelf แล้ว ผู้ผลิตจะใช้เวลาผลิตและส่งกลับมาที่ shelf ใหม่ จากอดีตใช้เวลา 30 วัน แต่เมื่อนำระบบ RFID มาช่วยในการประเมินทำให้ลดเวลาเหลือเพียง 4 วันเท่านั้น

“RFID สามารถช่วยลดความผิดพลาดจากทำงานของคน ช่วยลดต้นทุนในการสต็อคสินค้า และหากทุก shelf ติดชิปจะช่วยแก้ปัญหาสินค้าไม่เคยขายได้ สินค้าหมดทำให้พลาดโอกาสในการขาย และสินค้าวางผิดตำแหน่ง และช่วยสอบย้อนกลับไปที่แหล่งกำเนิดของสินค้า” คุณสมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Identify จำกัด ผู้ผลิตชิบ เครื่องอ่านและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของไทย กล่าว
“การนำ RFID ไปใช้ต้องพิจารณาว่ามีความจำเป็นต่อธุรกิจเพียงใด และพันธมิตรในซัพพลายเชนมีแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้หรือไม่ โดยไม่ควรมองเรื่องราคาอย่างเดียวควรมองว่า RFID สามารถช่วยให้ธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างไร ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานหรือไม่อย่างไร ส่วนเรื่องราคาเอาไว้พิจารณาทีหลัง” คุณสมิทธิ์ กล่าวย้ำ
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัท Identify จำกัด ได้ไปติดตั้งและพัฒนาระบบ RFID ให้กับหลายๆ องค์กรชั้นนำ เช่น กลุ่มปูนซีเมนต์ไทย ปตท. แอมเวย์ AIS โรงพยาบาลสมิติเวช สำนักพระราชวัง กรมป่าไม้ การท่าเรือ โดยโซลูชั่นด้าน RFID ที่บริษัท Identify จำกัด ให้บริการประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ทั้งเครื่องอ่านสัญญาณและเครื่องลูกข่ายทั้งที่พัฒนาและผลิตขึ้นเอง และนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ ในส่วนซอฟต์แวร์บริษัทให้บริการทั้งซอฟต์แวร์ มิดเดิลแวร์ รวมถึงซอต์แวร์แอปพลิเคชั่น ทั้งจากที่พัฒนาขึ้นเองและพัฒนาร่วมกับพันธมิตร สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ
เช็คสต็อคเรียลไทม์-กระจายสินค้ารวดเร็ว

RFID จะช่วยพัฒนาระบบขนส่งของประเทศ (Logistic) ควบคู่ไปกับเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากลโลก ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้า ทั้งการบริหารจัดการคลังสินค้า สามารถตรวจสอบสินค้าในสต็อคได้ทันที พร้อมทั้งสามารถกระจายสินค้าไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
“นอกจากนี้ ลูกค้าในอุตสาหกรรมยังมีความต้องการนำ RFID เข้าไปในระบบงานที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น อาทิ การติดตามการเคลื่อนไหว การตรวจนับจำนวนสินค้า การนำไปใช้ในกระบวนการผลิต การป้องกันการโจรกรรม การป้องกันการปลอมแปลงสินค้า ในหลายอุตสาหกรรมเช่นการผลิต การขนส่งและโลจิสติกส์ การบริการและการค้า และบริการเงินอิเล็คทรอนิกส์” คุณมนู อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA กล่าว
การนำ RFID มาใช้ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในโรงงานผู้ผลิตช่วยในเรื่อง การวางแผนการทำงาน เนื่องจากหากติดไมโครชิปไว้กับชิ้นงาน จะทำให้สามารถตรวจสอบกระบวนการทำงานของสินค้าชิ้นนั้นๆ ว่าอยู่ในขั้นตอนใด รวมถึงสามารถวางแผนการบริหารจัดการคลังสินค้าได้
การประยุกต์ใช้งาน RFID จะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายกับบาร์โค้ด แต่สามารถรองรับความต้องการที่บาร์โค้ดไม่สามารถตอบสนองได้ สิ่งที่ RFID ต่างจากบาร์โค้ดก็คือ การจัดเก็บข้อมูลลงบน tags (แผ่นป้าย) การอ่านและเขียนทับ สามารถอ่านได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส และสามารถอ่านได้ในระยะไกลกว่าเดิม เพราะ RFID มีความสามารถในการส่งสัญญาณวิทยุออกมายังเครื่องรับ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงเหมือนบาร์โค้ดหรือแถบแม่เหล็ก
ที่สำคัญคือ RFID สามารถให้ข้อมูลสินค้าได้มากกว่า ในขณะที่บาร์โค้ดจะบอกได้เฉพาะลักษณะจำเพาะของสินค้า เช่น กำหนดว่าน้ำอัดลมคือน้ำสีดำที่บรรจุในขวด แต่ RFID จะบอกว่าขวดนี้ผลิตเมื่อใด มาจากโรงงานไหน ใช้เวลาขนส่งมาถึงร้านนานเท่าใด และอยู่ในคลังที่เก็บสินค้านานเท่าใดก่อนวางขาย คือ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลการผลิตการค้าต่างๆ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางผู้บริโภค สามารถบอกได้ว่าสินค้าถูกเก็บที่ไหนบ้าง ขนส่งไปที่ไหนบ้างและวางอยู่บนชั้นเป็นเวลานานเท่าไร และมีจำนวนสินค้าที่ค้างอยู่บนชั้นในร้านค้าปลีกจำนวนเท่าใด กล่าวได้ว่า RFID เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยบริหารห่วงโซ่การผลิตและการจำหน่าย (Supply Chain Management) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“ในอนาคต RFID จะเป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญและนำมาใช้ และทุกอย่างจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะประโยชน์คือสินค้าสามารถสืบย้อนกลับได้ และเป็นกลจักรที่ทำให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างชาติได้” คุณพิชญา วัชโรทัย ผู้อำนวยการสถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (GS1) ซึ่งเป็นผู้นำในการร่วมวางมาตรฐานของการเก็บข้อมูลอัตโนมัติ และการสื่อสารอิเล็คทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมต่างๆ กล่าว
อย่างไรก็ดี คาดว่าจะต้องอาศัยระยะเวลา 3 – 4 ปี จึงจะเห็นภาพการเทคโนโลยี RFID เข้ามาใช้ในวงการอุตสาหกรรมไทยอย่างแพร่หลาย แต่จะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมทั้งหมด โดยขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่ใช้ RFID ควบคู่ไปกับระบบรหัสบาร์โค้ด
“ในอนาคตอันใกล้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการอุตสาหกรรมไทย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นำระบบ RFID เข้ามาประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจอย่างแพร่หลาย อันเนื่องมาจากความรวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดในการบริหารจัดการในองค์กร” คุณพิชญา กล่าวย้ำ
เริ่มต้นใช้ RFID อย่างไร
การจะนำ RFID เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน ต้องพิจารณาถึงจุดคุ้มทุนและผลตอบแทนการลงทุน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าสินค้าของเราคืออะไร มีมูลค่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งในการเริ่มต้นดำเนินโครงการต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น จะเลือกใช้อุปกรณ์และซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตรายใด ใช้ช่วงความถี่ย่านไหน ต้องใช้มาตรฐานอะไร โดยในขั้นแรกอาจจะเริ่มต้นด้วยการกำหนดความถี่ เพื่อทดลองใช้งานในช่วงความถี่หนึ่ง หากนำมาใช้แล้วได้รับผลตอบแทนที่พอใจ อาจจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบภายหลัง โดยอาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรเลือกอุปกรณ์ที่สามารถรองรับมาตรฐานที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงรองรับโครงสร้างข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป

ผู้ผลิตหรือโรงงานอุตสาหกรรมสามารถนำระบบ RFID มาใช้เพื่อบ่งชี้บรรจุภัณฑ์หรือทรัพย์สิน โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องอ่านทุกที่ แต่สามารถติดตั้งเฉพาะจุดที่ต้องการตรวจสอบ หรือสามารถใช้อุปกรณ์ประเภท Handheld Reader ที่จะช่วยให้การทำงานสะดวกมากขึ้น ระบบ RFID ยังช่วยให้ทราบข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้ เช่น ความถี่การนำไปใช้ประโยชน์ การหมุนเวียนหรือเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน คุณภาพการใช้งาน ซึ่งทำให้สามารถวางแผนและปรับปรุงระบบการใช้งานทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกที่นำระบบ RFID มาใช้ นอกจากจะได้รับประโยชน์จากศูนย์กระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกต่างๆ แล้ว ยังช่วยลดแรงงานที่ต้องใช้ในการสแกนบาร์โค้ดและการตรวจสอบสินค้า ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
ในกรณีของศูนย์กระจายสินค้าที่ต้องมีการแยกสินค้าบนแต่ละพาเลท เพื่อคัดแยกจัดและกระจายสินค้า สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงก็ควรจะติด Tag เพื่อตรวจสอบและป้องกันการขโมยสินค้า เมื่อสินค้าเคลื่อนออกจากศูนย์กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีกสามารถทราบได้ว่าสินค้าที่ทำการขนส่งนั้นตรงตามใบสั่งซื้อหรือไม่ และเมื่อสินค้ามาถึงร้านค้าก็สามารถสแกนที่กล่องหรือภาชนะโดยอัตโนมัติด้วย Handheld Reader เพื่อนำเข้าสู่ระบบสินค้าคงคลังของร้าน
สำหรับผู้ให้บริการขนส่งและกระจายสินค้านั้น ระบบ RFID ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและให้บริการ พร้อมทั้งลดระยะเวลาในการส่งผ่านข้อมูลเข้าสู่ระบบ และช่วยให้การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงรถบรรทุกในจุดขนถ่ายสินค้ามีความรวดเร็วมาก ขึ้น
การนำ RFID ไปใช้เพื่อการตรวจสอบสินค้าในระบบ Cross-Docking สำหรับสินค้าระดับพาเลทที่มาจากโรงงาน เพื่อกระจายไปยังร้านค้าปลีกต่างๆ ทำได้โดยการติด Tag ที่พาเลทสินค้า และติดตั้งเครื่องอ่านที่ประตูที่ต้องการมีการขนถ่ายสินค้าเข้าสู่ระบบ ทั้งยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า โดยสามารถติดตั้งเครื่องอ่านที่บริเวณประตูที่มีการขนสินค้าขึ้นรถ
นอกจากนี้ RFID ยังสามารถระบุตำแหน่งต่างๆ ในบริเวณลานหรือพื้นที่จัดเก็บสินค้าทั้งหมด ซึ่งช่วยลดแรงงานในส่วนเจ้าหน้าที่ที่ต้องใช้ในการตรวจตามสินค้า ช่วยลดระยะทางและเพิ่มความรวดเร็วของรถที่ต้องเข้าออกพื้นที่ต่างๆ พร้อมทั้งทำให้เกิดการปรับปรุงด้านการกระจายสินค้า การวางแผนการผลิต การควบคุมและจัดเก็บสินค้าคงคลัง และการบริหารการเติมเต็มสินค้าในรูปแบบ Vendor-Managed Inventory หรือ VMI เป็นต้น
คาดแนวโน้มตลาด RFID โตต่อเนื่อง
RFID ได้กลายเป็นแนวโน้มทางเทคโนโลยีของโลก ซึ่งจะถูกปรับใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยพบว่าในปี 2000 ตลาดอุตสาหกรรม RFID ในโลกมีมูลค่า 663 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2002 มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 964.5 ล้านเหรียญ และคาดว่าจะมีการขยายตัวของตลาดอย่างต่อเนื่องถึงปีละประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ โดยในปี 2006 คาดว่าจะมีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดจะสูงถึง 11,700 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2011
ในส่วนของกลุ่มที่มีอัตราเติบโตสูงสุดในการนำ RFID มาใช้ คือ กลุ่มการชำระเงินที่เติบโตถึง 76.9 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือการใช้เพื่อติดตามสินค้าในธุรกิจค้าปลีก 62.2 เปอร์เซ็นต์ การใช้ในระบบติดตามกระเป๋าเดินทางในสนามบิน 58.5 เปอร์เซ็นต์ ระบบ Real Time Location System 54.5 เปอร์เซ็นต์ และระบบห่วงโซ่อุปทานที่เติบโต 45.2 เปอร์เซ็นต์

ในตลาดโลกให้การยอมรับเทคโนโลยี RFID เป็นอย่างมาก โดยคาดว่าในปี 2549 ตลาดจะมีการขยายตัวในแง่การนำมาใช้งานในวงกว้างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเริ่มมีพัฒนาการในการนำ RFID ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจซัพพลายเชน
“คาดว่าในไม่ช้า RFID จะเข้ามาแทนบาร์โค้ดได้ อย่างไรก็ตามการจะนำมาใช้ได้หรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับราคาและประโยชน์ที่ได้รับ เนื่องจาก RFID ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าการใช้บาร์โค้ด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรได้รับกลับมาคือ ประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน” ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าว
สำหรับตลาด RFID ของไทยปีนี้ ในส่วนของซัพพลายเออร์จะมีผู้เข้ามาสู่ธุรกิจนี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งทางด้านจำนวนและความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นตลาดทางด้านอุปกรณ์ RFID ตลอดจนซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น สำหรับรองรับงานต่างๆ ทั้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ และพัฒนาจากซอฟต์แวร์เฮ้าส์ในประเทศเอง รวมทั้งกลุ่มผู้ให้บริการและพัฒนาระบบสำหรับ RFID ซึ่งจะมีทั้งบริษัทหน้าใหม่และบริษัทในวงการวางระบบไอทีเดิมที่จะขยายเข้ามา เป็นผู้ให้บริการ
“ในอนาคตอีก 5-10 ปี ธุรกิจไทยจะนำ RFID มาใช้งานมากขึ้นกับสินค้าบางประเภท เพราะสินค้าหลายประเภทบาร์โค้ดยังใช้งานได้ดีและมีราคาถูกกว่า โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาไม่แพง การนำ RFID มาติดจึงยังไม่คุ้มกับการลงทุน แต่อย่างไรก็ดีต่อไปจะมีการพัฒนาให้ทั้ง RFID และบาร์โค้ดใช้ควบคู่กัน” คุณสมิทธิ์ กล่าว
ความต้องการใช้งานของลูกค้าในไทยปี 2549 จะสูงกว่าปีก่อนกว่า 3 เท่าตัว จากปัจจัยส่งเสริมในหลายด้าน ทั้งทางด้านราคาของตัวฉลากหรือแทกส์ที่ลดลงมากกว่า 50% ในขณะที่เครื่องอ่านมีความสามารถสูงมากขึ้น รวมถึงการอนุมัติคลื่นความถี่ในย่านต่างๆ สำหรับการใช้งาน RFID ในประเทศ อีกทั้งผู้ประกอบการมีความเข้าใจเทคโนโลยี ทำให้หันมาใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น
เร่งรัฐหนุน RFID เสริมจุดแข็งอุตสาหกรรมไทย
สิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยนำระบบ RFID มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยเป็นตัวอย่างในการนำ RFID มาใช้ พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจและให้หลักการแนวคิดในการวิเคราะห์จัดการแก่ ประชาชน รวมถึงส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรม RFID ในประเทศไทย เพื่อไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

“ขณะนี้ SIPA ได้มีโครงการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า Thailand RFID Cluster โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยได้แบ่งการพัฒนาเป็น 4 ด้านคือการพัฒนาชิปและบัตร (C-chip & card) การพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อการใช้งาน (A- application Software) การพัฒนาเครื่องอ่านและเขียน (T- terminal & reader) และการพัฒนาระบบและมาตรฐานรองรับเพื่อนำไปใช้งานแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ (S- system & solution) ซึ่งวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนคลัสเตอร์ RFID ไม่ได้ต้องการสนับสนุนเรื่องการนำไปใช้งานอย่างเดียว แต่ต้องการให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาใช้งานเองได้” ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าว
การส่งเสริมเทคโนโลยี RFID ด้านไมโครชิปและแท็ก (chip and tag) เนคเทคได้ให้การสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและออกแบบวงจรรวม RFID tag หลายรุ่น อาทิ วงจรรวม RFID tag ย่านความถี่ต่ำ วงจรรวม RFID tag ย่านความถี่สูง (13.56 MHz) และออกแบบวงจรรวม RFID tag สองย่านความถี่ (dual-band RFID tag) นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตเครื่องอ่าน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้พัฒนาระบบด้วย เช่น ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องอ่านความถี่ต่ำสำหรับอ่านบัตรประจำตัวบุคคลเพื่อ ควบคุมการเข้าออกสถานที่ โดยได้ทดลองใช้ในงานนิทรรศการวิทยาศาสตร์ฯ ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเดือนตุลาคม 2547
เนคเทคยังได้ให้การสนับสนุนภาคสังคมด้วย โดยร่วมมือกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยพัฒนาระบบฉลากยาอิเล็กทรอนิกส์หรือ “ฉลากยาพูดได้” (talking drug label) ซึ่งประกอบด้วยฉลากไร้สาย (RFID label) และเครื่องอ่านที่บันทึกและเล่นเสียงพูดได้อีกด้วย
ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้น ได้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ระบบลงทะเบียนบุคคลด้วย RFID ที่ใช้งานร่วมกับระบบ RFID ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งได้ทดลองใช้ในการประชุมสัมมนาเรื่องระบบสมองกลฝังตัว T-Engine เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และได้เป็นเป็นที่พอใจ
สำหรับการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชน ทางศูนย์ได้เป็นแกนนำในการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายเป็นเครือข่ายวิสาหกิจใน นาม Thailand RFID Cluster จัดประชุมระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเป็นสื่อเชื่อมต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้กับบริการสาธารณะในรูปแบบโครงการนำร่อง โดยให้บทบาทภาคเอกชนได้มีส่วนร่วม เช่น โครงการนำร่องยกระดับท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าขนส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-port) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมศุลกากร การท่าเรือฯ และ สวทช. มีการประยุกต์เทคโนโลยี RFID ในส่วนของระบบ e-toll (ระบบเก็บเงินค่ายานพาหนะผ่านท่า) และระบบ e-seal (ระบบติดตามและตรวจสอบตู้สินค้าด้วยผนึกอิเล็กทรอนิกส์)
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการลงทะเบียนสัตว์และการจัดการฟาร์มด้วย เทคโนโลยี RFID ที่ฟาร์มทดลองของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ขณะนี้โครงการกำลังดำเนินอยู่และจะสิ้นสุดภายในปี 2549 ส่วนโครงการนำร่องระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับอุตสาหกรรมกุ้ง (food traceability for shrimp industry) จะเริ่มดำเนินการภายในปลายปี 2549
“RFID เป็นเรื่องใหม่หากต้องการให้ผู้ประกอบการของไทยเป็นผู้ผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับธุรกิจ ผู้ที่ควรจะมีบทบาทหลักในการเข้ามาผลักดันคือภาครัฐและเอกชนทั่วไป ที่ต้องร่วมมือกันส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างจริงจังในประเทศ ความช่วยเหลือจากภาครัฐอาจทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น เริ่มจากการช่วยเหลือผู้ผลิตเครื่องอ่านและแทกส์ หรือป้ายสัญญาณเพื่อให้สามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง” คุณสมิทธิ์ กล่าวเสริม
หากเปรียบเทียบความตื่นตัวและการสนับสนุนจากภาครัฐระหว่างประเทศไทยและต่าง ประเทศแล้ว ประเทศไทยยังถูกทิ้งห่างให้อยู่ข้างหลังพอสมควร ซึ่งเทคโนโลยี RFID ต้องการคนที่มีความชำนาญ และต้องอาศัยเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์ชั้นสูง ตลอดจนเงินทุนสนับสนุนการพัฒนา เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐของไทยต้องให้ความสำคัญและหันมาส่งเสริม พัฒนาอย่างจริงจัง
แม้ว่า RFID จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมศักยภาพในการทำงานเพียงใด แต่ก็ยังมีปัญหาในการนำมาใช้เช่น ไม่สามารถใช้ข้ามระบบความถี่ได้ รวมถึงไม่สามารถตรวจสอบได้เมื่อสินค้าอยู่นอกเขตคลื่นวิทยุ นอกจากนี้สิ่งที่ควรพิจารณาปรับปรุงเกี่ยวกับระบบ RFID คือ เรื่องของมาตรฐานของระบบ เพราะปัจจุบันผู้ผลิตต่างก็มีมาตรฐานเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความถี่ที่ใช้งานหรือโปรโตคอล (Protocol) ที่ยังไม่สามารถนำแทกส์จากผู้ผลิตรายหนึ่งมาใช้กับตัวอ่านข้อมูลของผู้ผลิต อีกรายหนึ่ง อย่างไรก็ตามหลายองค์กรได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และได้เริ่มมีการพัฒนาระบบมาตรฐานขึ้นมา
เชื่อว่าอีกไม่นานนี้เทคโนโลยี RFID จะมีบทบาทมากต่ออุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงการทำงานตลอดสายของซัพพลายเชน ถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ผู้ประกอบการไทยต้องวิ่งตามเทคโนโลยีนี้ ถ้าหากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการบริหารข้อมูล อาจเป็นเหตุผลสำคัญให้ผู้บริหารองค์กรต้องตัดสินใจ

http://www.logisticsthaiclub.com/index.php?mo=3&art=477644


นางสาววิภาดา  จำปางาม บ.กจ.3/2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น